1117
#ฮีทสโตรก #โรคลมแดด #โรคร้ายที่มาพร้อมฤดูร้อน ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงนี้ ที่อุณหภูมิสูงทะลุ 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า “โรคฮีทสโตรก” หรือเราอาจจะคุ้นเคยกันดีในชื่อ โรคลมแดด ที่อันตรายและเด็กๆ เป็นกันไม่น้อย เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ รวมถึงวิธีดูแล ปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันค่ะ โรคฮีทสโตรก คือ การที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง กลุ่มเสี่ยงโรคฮีทสโตรกก็จะมี ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็ก ที่ร่างกายปรับตัวไม่ทัน อาการโรคฮีทสโตรก สามารถสังเกตได้โดยการที่เด็กจะมีผิวหนังแห้งและร้อนขึ้นเรื่อยๆ, ตัวสั่น, กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, ปวดศีรษะ, พูดช้าสับสน, เห็นภาพหลอน, หายใจเร็ว, เหนื่อย, หัวใจเต้นเร็ว, มีไข้สูง, หมดสติ ร้ายแรงที่สุดเด็กจะมีอาการ “ช็อก” และหากได้รับการรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ เราสามาถป้องกันโรคฮีทสโตรก ได้โดยการ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว, สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี, สวมหมวกป้องกันแดดและความร้อน, หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่กลางแจ้ง แดดแรง, ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้งในวันที่อากาศร้อนจัด สำหรับวิธีการการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น เริ่มแรกให้นําผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว, คอ, รักแร้, เชิงกราน, ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน เทน้ําเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนําส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ